วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Creative Commons cc-by-nc-sa คืออะไรหว่า ???



CC (Creative Commons) คือ อะไร ?
                CC หรือ Creative commons นั้นคือชุดสัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง นั่นหมายถึงว่าสัญญาอนุญาตฉบับนี้จะยอมให้ทุกคนสามารถที่จะใช้ได้ในทันที เพื่อเป็นการสะดวกต่อการเผยแพร่ผลงานของเจ้าของ โดยที่เจ้าของผลงานนั้นสามารถสงวนสิทธิ์บางอย่างไว้ได้ บางท่าน อาจจะเคยเห็น GPL ของ software ที่สามารถนำ แจกจ่ายได้ตามที่ต้องการโดยใน CC นี้ก็จะมีเนื้อหาโดยรวม ที่คล้าย ๆ กับ GPL ในปัจจุบัน CC นั้นได้เดินทางมาถึง Version ที่ 3.0 แล้วโดยใน Version 3.5 อาจจะรวมถึงการใช้ร่วมกันกับ GPL ด้วยก็เป็นได้

              
ทำไมต้อง CC(Creative Commons) ?
                ทำไมต้องใช้ CC หลายคนอาจจะบอกว่า ใช้กฎหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาก็น่าจะพอแล้ว ?
จริง ๆ แล้วการใช้กฎหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาก็ครอบคลุมในทุกกรณี อยู่แล้ว แต่ว่าขั้นตอนในการดำเนินการให้ถูกกฎหมายจริง ๆ นั้นต้องใช้เงินในการดำเนินการ และเสียเวลามาก ยกตัวอย่างเช่น
                หากนาย A เขียนบทความหรืองานวิจัย ขึ้นมาหนึ่งชิ้น ซึ่งนาย A ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะให้ได้มากที่สุดอยู่แล้วโดยไม่หวังผลกำไรใด ๆ แต่ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ระบุว่า “สิทธิ์ในการหาประโยชน์จากชิ้นงาน จะตกเป็นของผู้สร้างโดยทันทีที่เผยแพร่ผลงานนั้นออกไปยังคนอื่น ความเป็นเจ้าของสิทธิ์นี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ (ในทางกฎหมาย)” นั่นหมายความถึงแม้ว่านาย A ต้องการจะแจกจ่ายอยู่แล้วโดยไม่ได้หวังผลกำไรใด ๆ ก็ตาม หากนาย B เห็นผลงานของ นาย A และอยากเอาไปใช้เผยแพร่ต่อ ก็ต้องขออนุญาตนาย A ก่อน โดยการทำหนังสือถึงนาย A เพื่อขออนุญาตเผยแพร่ อย่างถูกต้อง แล้วลองจินตนาการดูสิครับว่า หากว่ามีผู้ที่สนใจจำนวนมาก มันจะต้องเสียเวลาขนาดไหน ทั้ง ๆ ที นาย A ก็ไม่ได้ต้องการอะไรอยู่แล้ว เมื่อทำหนังสือมานาย A ก็แค่บอกว่าอนุญาต แล้วส่งกลับ (นอกจาก นาย A จะไม่ได้เงินแล้วยังต้องเสียเงินอีกนะเนี่ย) แถมยังต้องเสียเวลาดำเนินการมากมาย
                ทางออกของเรื่องนี้มีอยู่หลายทางครับโดยที่ทำให้ไม่เสียเงินไม่เสียเวลา
                1. ทางแรกคือ นำไปใช้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต (ก็เค้าไม่ได้หวังผลกำไร อยู่แล้ว นิหน่า)
                - การทำแบบนี้ถึงแม้ว่าเจ้าของไม่ได้มีเจตนาที่จะแสวงหาผลกำไรอยู่แล้ว แต่ก็ยังผิดกฎหมายอยู่ดีครับเพราะว่าในกรณีนี้ การนำผลงานของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้บอกให้เจ้าของผลงานทราบถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะฉะนั้นวิธีนี้ ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา แต่ผิดกฎหมายครับ
                2. ทางที่สอง นำไปใช้ได้เลยหากเข้าข่ายการใช้แบบ Fair Use
                - การใช้ แบบ Fair use นั้นคือ การใช้งานโดยชอบธรรมประกอบด้วย การใช้โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้า หรือการนำภาพส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ หรือปกหนังสือไปใช้งานในความละเอียดต่ำหรือมีขนาดเล็กโดยไม่ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายของสินค้า หรือทำให้สินค้านั้นขาดรายได้ (ลำบากนะจะใช้ฟรี ๆ ทีนึงเนี่ย)
                3. เจ้าของประกาศให้งานตนเองเป็นสมบัติสาธารณะ(Public Domain)
                - การประกาศแบบนี้จะส่งผลให้งานชิ้นนั้นตกเป็นสมบัติสาธารณะทันที มีผลทำให้ใคร ๆ ก็สามารถนำงานชิ้นนั้นไปใช้แก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย จ่ายแจกได้เต็มที่
                4. เจ้าของประกาศเงื่อนไขการใช้งานเพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษ (ถือเป็น สัญญา”) เช่น บอกว่าเอาไปใช้ได้นะถ้าคุณส่งโปสการ์ดกลับมาให้ผมดูเล่นสักใบ (Linux ช่วงแรกๆ เคยเป็นแบบนี้) หรือที่คุ้นๆ กันหน่อยก็ เอาไปใช้ได้นะถ้าไม่นำไปใช้เพื่อการค้า

โดยในข้อ 4 นี้เองที่เป็นที่มา ของ CC
ปัญหาของข้อ (4) ก็คือต่างคนต่างประกาศกันมั่วไปหมด คนนำไปใช้ต่อก็เลยสับสน (แถมยังมีประเด็นว่าเจ้าของงานจำนวนมาก ไม่รู้ว่ามันทำแบบนี้ได้) โครงการ Creative Commons เลยแก้ปัญหาดังนี้
                - จัดชุดของเงื่อนไขที่เจอบ่อยๆ (เช่น ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า, ห้ามดัดแปลงต่อ) เข้าไว้ด้วยกัน
                - สร้างแบรนด์ให้มันหน่อย โดยทำเป็นโลโก้ CC เพื่อที่ผู้ที่เห็นจะได้รู้ว่า ทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่นผู้ที่เห็น C ก็จะรู้ทันทีว่า สินค้าชิ้นนี้ หรือ งานนี้ มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง อยู่
                - สร้างความคุ้มครองทางกฎหมาย โดยเขียนสัญญาที่มีผลบังคับใช้จริงๆ ในทางกฎหมาย (ที่คนธรรมดาอ่านไม่รู้เรื่อง) ขึ้นมา เวลามีคนมาฟ้องว่าสัญญาแบบ CC นี้เป็นสัญญาเก๊ ฝ่ายคนประกาศ CC จะได้สู้คดีแล้วชนะ (มีคนชนะมาแล้วในต่างประเทศ)

ชุดสัญญาเงื่อนไขและ โลโก้
                CC จะสามารถแบ่งชุดเงื่อนไขในการอนุญาตออกเป็นคร่าว ๆ ได้ 4 แบบดังนี้

                1. Attribution (ตัวย่อ by) คนนำไปใช้ต้องอ้างอิงด้วยว่าเอามาจากไหน
                2. Non-Commercial (ตัวย่อ nc) ห้ามนำไปใช้เพื่อแสวงหาผลกำไร

                3. No Derivative (ตัวย่อ nd) ห้ามเปลี่ยนแปลงงานของผู้เผยแพร่

                4. Share Alike (ตัวย่อ sa) คนที่นำผลงานของเราไปใช้ งานที่ออกมาต้องเป็น Creative Commons เหมือนกันด้วย (แถมยังต้องเป็น CC แบบเดียวกัน หรือแบบที่เข้ากันได้) จุดหมายก็คือต้องการเผยแพร่ให้เกิดงานที่เป็น CC เยอะๆ

                เงื่อนไขทั้ง 4 แบบนี้เจ้าของผลงานสามารถที่จะเลือกผสานเงื่อนไขใดก็ได้มาใช้กับงาน แต่เงื่อนไข Attribution (by) เป็นที่รู้กันว่าในสัญญา CC จำเป็นจะต้องใส่ด้วยทุกงาน ตัวอย่าง เช่น
                นาย A เขียนบทความงานวิจัยขึ้นมา แล้วใช้ สัญญาแบบ cc-by-nc-sa เมื่อนาย B ต้องการที่จะนำผลงานของนาย A ไปใช้ นาย B สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยการเผยแพร่ ต่อนาย B จะต้องระบุ ว่านำมาจากนาย A ตามสัญญา by และจะต้องห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์ ตามสัญญา nc นอกจากนั้น เมื่อ นาย B นำไปเผยแพร่จะต้องเผยแพร่ โดยใช้สัญญาเหมือนกันกับนาย A ทุกประการ ตามสัญญา sa

                โดยสรุป
- สัญญาอนุญาต CC ไม่ได้เป็นการให้สิทธิ์ในงานของเราเป็นงานสาธารณะ ผู้ที่เป็นเจ้าของยังมีสิทธิ์ทุกประการในงานนั้น แต่ CC เป็นเพียงการบอกว่า สามารถนำงานไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องขอก่อน
- เจ้าของสามารถที่จะเปลี่ยนสิทธิ์ชิ้นงานได้เสมอ แต่หากงานที่ถูกนำไปใช้เผยแพร่ออกไปแล้วจะใช้สัญญาเงื่อนไขเดิมต่อไป
- งานคนละชิ้นกันสามารถใช้สัญญาอนุญาตคนละแบบได้
- เจ้าของยังสามารถขายหรือหาผลประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ของตัวเอง ผ่านช่องทางการเจรจาใต้กรอบลิขสิทธิ์ได้เช่นเดิม
สามารถอ่านสัญญา Creative Commons ฉบับเต็ม ของประเทศไทยได้ ที่นี่

ข้อมูล : blognone 
              Wikipedia 

              Creative Commons




Creative Commons License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Unported License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น